ย้อนอดีต 14 กุมภาพันธ์ จากวิทยาลัยครูสู่….ราชภัฏ

      วันที่  14  กุมภาพันธ์  ซึ่งนอกจากเป็นวันวาเลนไทน์ (วันแห่งความรัก)   ซึ่งหนุ่ม ๆ  สาวๆ  เกือบ         ทั่วประเทศจะแสดงความรัก  โดยการส่งดอกไม้  หรือ การ์ดอวยพร ที่เป็นสัญลักษณ์ เป็นรูปหัวใจสีแดง  มีคำอวยพรที่เกี่ยวข้องกับความรักและมอบของขวัญให้กัน  รวมไปถึงความรักและมอบของขวัญให้กัน  รวมไปถึงความรักในหมู่ครอบครัว     ญาติพี่น้อง  เพื่อนฝูง หรือคนใกล้ชิด  โดยไม่จำกัดอายุ และวัย     

     แต่หลาย ๆ คนยังไม่รู้ว่า นอกจากเป็นวันวาเลนไทน์ /วันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์         ของวงการศึกษา ของชาวราชภัฏทั่วประเทศ  นั่นคือวันที่  14   กุมภาพันธ์   2535   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว          ได้พระราชทานนามว่า  “สถาบันราชภัฏ”  แทน “วิทยาลัยครู”

    เมื่อมีการประกาศตั้งกระทรวงธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการ       ในวันที่ 1  เมษายน  พ.ศ.2535     ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) แล้ว   การศึกษาไทยในระบบโรงเรียน ได้ก้าวสืบมา  ส่งผลให้การประกาศตั้งสถาบันผลิตครู  และมีการพัฒนามาตามลำดับ  ดังนี้  

   วันที่  12    ตุลาคม  2435  ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์   ณ  โรงเลี้ยงเด็ก  ถนนบำรุงเมือง  กรุงเทพมหานคร   พ.ศ. 2446     ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู เพิ่มขึ้น

   วันที่  29  กันยายน  2497   ประกาศตั้งกรมการฝึกหัดครู  เพื่อทำหน้าที่ผลิตครู และอบรมครูที่ยังขาดวิทยฐานะ  ให้มีวุฒิทางครู  และผู้มีวุฒิทางครู  ได้รับวุฒิสูงขึ้น 

           วันที่ 14  กุมภาพันธ์  2518   มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วิทยาลัยครู กำหนดหน้าที่   5  ประการ   คือ ผลิตครูระดับ ปริญญาตรี  ศึกษาค้นคว้าวิจัยฝึกอบรมบุคลากร ทางการศึกษาประจำการ ทำนุบำรุงส่งเสริมและพัฒนา วัฒนธรรมแห่งชาติ  ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน 

           พ.ศ.2527  รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยครู พ.ศ.2527   แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.วิทยาลัยครู  2518  กำหนดให้วิทยาลัยครู เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิชาการ  ในสาขาวิชาต่างๆ  สามารถผลิตบัณฑิตเพิ่ม  จากสายการศึกษา (ค.บ.)    อีก  2  สาย    คือ    สายวิทยาศาสตร์ (วท.บ.)  และสายศิลปะศาสตร์ (ศศ.บ.)    รวม  3   สาย    หลายโปรแกรมวิชาตามความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวาง  แต่คนทั่วไปยังคิดว่า  วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตเฉพาะสายครูเท่านั้น  บัณฑิตจากวิทยาลัยครู จะต้องไปประกอบวิชาชีพครูอย่างเดียว   จุดนี้   จึงทำให้ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.)   , ศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) หรือสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่สายการศึกษา  ขาดโอกาสในการได้งานทำ  

          ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยน ชื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานที่ขยายตัวไป และสอดคล้องกับความเป็นสากล  เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และ เพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษาในสถาบัน  กรมการฝึกหัดครู  จึงขอพระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่    และต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ว่า “สถาบันราชภัฏ ”  แทน “วิทยาลัยครู”  เมื่อวันที่ 14  กุมภาพันธ์  2535  ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ  ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ  เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและได้อนุมัติรับหลักการ  4  ประการ  คือ  เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏ  เปิดสอนได้สูงกว่าปริญญาตรี   การจัดสรรงบประมาณรายได้ และทรัพย์สินของสถาบันมีความคล่องตัวมากขึ้น  และให้สถาบันราชภัฏมีฐานะเป็นนิติบุคคล   

          วันที่ 24  มกราคม  2538    นายกรัฐมนตรี  ได้นำ พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ   ขึ้นกราบบังคับทูล  เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย   และประกาศในราชกิจจานุเบกษา   ฉบับกฤษฏีกา 

        เมื่อวันที่ 24  มกราคม  2538   /  วันที่  25   มกราคม  2538    พ.ร.บ.  สถาบันราชภัฏ ได้มีผลบังคับใช้   ส่งผลให้ นามพระราชทานสถาบันราชภัฏมีศักดิ์   และสิทธิสมบูรณ์ ตามกฎหมายทุกประการ  นับตั้งแต่   บัดนั้น 

                    จนกระทรวง เปลี่ยนเป็น  “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”    เมื่อวันที่  15  มิถุนายน  2547      

       พระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้นเป็นมหาสิริมงคล ยิ่งแก่เหล่านักศึกษา และบัณฑิต  ตลอดจนคณาจารย์  ข้าราชการ  และบุคลากรทุกส่วน    ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วกัน 

                     สีของราชภัฏ   สัญลักษณ์ 

                      สีน้ำเงิน  แทนค่า  สถาบันพระมหากษัตริย์  ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม  “สถาบันราชภัฏ” 

                      สีเขียว  แทนค่า  แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ   ในแหล่งธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม 

                      สีทอง  แทนค่า  ความเจริญรุ่งเรือง  ทางภูมิปัญญา

                       สีส้ม   แทนค่า  ความรุ่งเรือง  ของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  ที่ก้าวไกลในราชภัฏ ทุกแห่ง  

                      สีขาว  แทนค่า  ความคิดอันบริสุทธิ์  ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

      สำหรับ ในปี 2554 นี้    มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง   จัดงานวันราชภัฏ ในวันจันทร์ที่ 14  กุมภาพันธ์     2554  
โดยมีกำหนดการดังนี้ 
     06.30.  จัดให้มีพิธีทำบุญเลี้ยงภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร  จำนวน    84 รูป  ที่โรงอาหารทิพย์ธัญญา เวลาประมาณ 
    07.00 น. จะมีพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พระสงฆ์   จำนวน  84  รูป 
  ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าเสาธง   โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นประธาน   เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และหลังจากเสร็จพิธีทำบุญตักบาตรแล้ว  เวลาประมาณ
    08.00น. จัดให้มีพิธีถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน  เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป    ..จนเสร็จพิธี
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  จึงขอเชิญคณาจารย์  นักศึกษา  ศิษย์เก่า  ศรัทธาประชาชน  ร่วมงานวันราชภัฏ

กำหนดการจัดงาน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554
คลิกที่นี่

แสดงความคิดเห็น

comments

GD Star Rating
loading...
ย้อนอดีต 14 กุมภาพันธ์ จากวิทยาลัยครูสู่....ราชภัฏ , 10.0 out of 10 based on 1 rating

ผู้ดูแลระบบ

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 ม.9 ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100

ติดต่อ สอบถาม คำแนะนำ