ผู้เขียน หัวข้อ: กพน.รับสมัครนักศึกษาฝึกอบรวิชาชีพเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนา  (อ่าน 4831 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pr_lpru

  • บุคคลทั่วไป

กองพัฒนานักศึกษาได้เล็งเห็นถึงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการพัฒนานักศึกษาด้านต่าง ๆ ซึ่งกองพัฒนานักศึกษาต้องการให้นักศึกษาทุกระดับชั้นปีได้มีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ที่สอดคล้องกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยโดยการเชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู  อนุรักษ์  สืบสาน  พัฒนาเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม  สร้างสรรค์  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น โดยจัดกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพเสริม…. เพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง  เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพก่อให้เกิดรายได้แก่นักศึกษาในอนาคต ดังนั้นกองพัฒนานักศึกษาจึงจัดโครงการอบรมอาชีพเสริมเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

วัตถุประสงค์

เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจและทักษะการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง เพื่อพัฒนาอาชีพให้กับนักศึกษา
เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู  อนุรักษ์  สืบสาน  พัฒนาเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม  สร้างสรรค์  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง
เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ประกอบอาชีพเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปางในอนาคตได้
เป้าหมาย

นักศึกษาภาคปกติทุกระดับชั้นปี เข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่า จำนวน 500 คน
นักศึกษาได้เข้ารับการอบรมความรู้และทักษะการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง     
 ไม่น้อยกว่า 6 อาชีพ   ประกอบด้วย
การตัดตุงล้านนาลำปาง
การทำขนมเทียน
การทำขนมข้าวต้มมัดหรือขนมต้ม
การทำเหรียญโปรยทาน
การเย็บใบตองสำหรับงานพิธี เช่น  กรวยดอก    กระทงใบตอง ฯลฯการทำบายศรีจากวัสดุธรรมชาติ
รายละเอียดโครงการ
คลิกที่นี่
ใบสมัคร
คลิกที่นี่



แผนงาน   ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา
ผลผลิต      ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการ   จัดบริการแก่นักศึกษาด้านกายภาพ การให้คำปรึกษาและข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์
งบประมาณ   งบประมาณ ปี 2553 จำนวน  30,000   บาท  หน้า 581
สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์      ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา   

 โครงการ   อบรมอาชีพเสริมพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง 
หลักการและเหตุผล
   กองพัฒนานักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ถือเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พ.ศ. ๒๕๔๘  และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยเดิมกองพัฒนานักศึกษามีชื่อว่า “กองกิจการนักศึกษา” และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “กองพัฒนานักศึกษา”        ในปี ๒๕๔๙  ที่ผ่านมา  โดยมี นายบรรจง  สมศรี  เป็นผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา และแบ่งกลุ่มสายงานออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ งานด้านบริหารงาน งานด้านกิจกรรม และงานด้านสวัสดิการ ทั้งนี้  เพื่อสามารถควบคุมงานทั้งหมดที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยได้ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมภายในของแต่ละคณะ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งกิจกรรมภายนอกของมหาวิทยาลัยดูแลความประพฤติของนักศึกษา  การให้คำปรึกษาด้านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ทุนการศึกษา แนะแนวอาชีพเสริม หอพักนักศึกษา และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
   ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗  ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนด         ในกฎกระทรวง มาตรา ๔๘  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภาย             ในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยให้การจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรับการ                 ประกันคุณภาพภายนอก
ด้วยกองพัฒนานักศึกษา เป็นหน่วยงานที่พัฒนา สนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษา มีคุณธรรม วินัย บุคลิกภาพ เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ภายใต้การบริหารจัดการที่เป็น                ธรรมมาภิบาล และให้
บริการที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตอย่างครบถ้วน  เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและชุมชน ตามองค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษา มีการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษาที่สถาบันสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณสมบัติพร้อมนอกเหนือจากการเรียนการสอนที่จัดขึ้นตามหลักสูตร กิจกรรมการพัฒนานักศึกษาแบ่งออกเป็นสองด้านคือ หนึ่งการจัดบริการแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า ซึ่งสถาบันจัดขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษาและศิษย์เก่า และสองการจัดกิจกรรมนักศึกษาที่ดำเนินการโดยสถาบันนักศึกษาซึ่งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากสถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบรวมทั้งทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
กองพัฒนานักศึกษาได้เล็งเห็นถึงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการพัฒนานักศึกษาด้านต่าง ๆ ซึ่ง                        กองพัฒนานักศึกษาต้องการให้นักศึกษาทุกระดับชั้นปีได้มีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านอาชีพ                            ที่สอดคล้องกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยโดยการเชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู  อนุรักษ์  สืบสาน  พัฒนาเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม  สร้างสรรค์  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น โดยจัดกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพเสริม....                เพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง  เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพก่อให้เกิดรายได้แก่นักศึกษาในอนาคต ดังนั้นกองพัฒนานักศึกษาจึงจัดโครงการอบรมอาชีพเสริมเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
วัตถุประสงค์
1.   เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจและทักษะการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรม
ท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง เพื่อพัฒนาอาชีพให้กับนักศึกษา
2.   เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู  อนุรักษ์  สืบสาน  พัฒนาเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรม  สร้างสรรค์  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง
3.   เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ประกอบอาชีพเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น
พื้นบ้านล้านนาลำปางในอนาคตได้
เป้าหมาย
1.   นักศึกษาภาคปกติทุกระดับชั้นปี เข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่า จำนวน 500 คน
2.   นักศึกษาได้เข้ารับการอบรมความรู้และทักษะการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มทักษะเชิงวัฒนธรรม
ท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง       ไม่น้อยกว่า 6 อาชีพ   ประกอบด้วย
1.   การตัดตุงล้านนาลำปาง
2.   การทำขนมเทียน
3.   การทำขนมข้าวต้มมัดหรือขนมต้ม
4.   การทำเหรียญโปรยทาน
5.   การเย็บใบตองสำหรับงานพิธี เช่น  กรวยดอก    กระทงใบตอง ฯลฯ
6.   การทำบายศรีจากวัสดุธรรมชาติ
วิธีดำเนินการ
1.   ประชุมเพื่อวางแผนงาน
2.   เสนอโครงการเพื่อพิจารณา
3.   เตรียมการดำเนินงานตามที่วางไว้
4.   จัดอบรมตามโครงการ
5.   ประเมินผลและสรุปผลโครงการ
6.   จัดทำรายงาน

ปฏิทินปฏิบัติงาน
ระยะเวลา 
กรกฎาคม  2553   สิงหาคม  2553
กิจกรรม   1   2   3   4   1   2   3   4
1. ประชุม                        
2. เสนอโครงการ   
                  
3. อบรมอาชีพ            
         
4. ประเมินผล            
         
5. จัดทำรายงาน
               
   

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม
1.   บรรยายให้ความรู้ แนวทางการจัดการอาชีพเสริมตามหลักสูตรระยะสั้น
2.   ฝึกปฏิบัติและอบรมเชิงปฏิบัติอาชีพระยะสั้น  จำนวน  6  อาชีพ
2.1   การตัดตุงล้านนาลำปาง
2.2   การทำขนมเทียน
2.3   การทำขนมข้าวต้มมัดหรือขนมต้ม
2.4   การทำเหรียญโปรยทาน
2.5   การเย็บใบตองสำหรับงานพิธี เช่น  กรวยดอก    กระทงใบตอง ฯลฯ
2.6   การทำบายศรีจากวัสดุธรรมชาติ
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
1.   จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่า 500 คน มีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2.   ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจและทักษะไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
3.   ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 75
งบประมาณ
   งบประมาณจำนวน   30,000  บาท
ค่าตอบแทน         
   - ค่าตอบแทนวิทยากร  6  อาชีพ ๆ ละ  4   ชั่วโมง ๆ  ละ  300 บาท  เป็นเงิน     7,200  บาท
ค่าวัสดุ
   - ค่าเอกสารสรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม   5  เล่มๆ ละ  200  บาท  เป็นเงิน   1,000  บาท
   -  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม  1  ป้าย  ๆละ    750  บาท
   -  ค่าป้ายอบรมอาชีพ  6  ป้าย  ๆ ละ   250  บาท     1,500  บาท
- ค่าวัสดุ เช่น กระดาษ ปากกา หมึก ฯลฯ   เป็นเงิน  1,550  บาท

      ค่าใช้สอย
-   ค่าจ้างเหมาจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการประกอบการอบรมอาชีพ  6  อาชีพๆละ 3,000  บาท   
 เป็นเงิน     18,000  บาท
                                                 (ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
   กองพัฒนานักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.    นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู  อนุรักษ์  สืบสาน  พัฒนาเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม 
สร้างสรรค์  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้านล้านนาลำปาง
2.   นักศึกษาสามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

การประเมินผลโครงการ
   ประเมินผลตามเกณฑ์การประกันคุณภาพภายใน  3  ด้าน



   ...................................................            .....................................................
         (นางกันทิมา  แก้วเดียว)                                 (นายบรรจง  สมศรี)
           ผู้รับผิดชอบโครงการ                       ผู้เห็นชอบโครงการ



            ...............................................
            (…………………………….)
                    …………………………………..
         ผู้อนุมัติโครงการ