ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิจัยดีเด่น ม.ราชภัฏลำปาง ปี 53  (อ่าน 4348 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pr_lpru

  • บุคคลทั่วไป
นักวิจัยดีเด่น ม.ราชภัฏลำปาง ปี 53
« เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 11:33:35 am »
นักวิจัยดีเด่น ม.ราชภัฏลำปาง ปี 53
                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ดวงจันทร์  เดี่ยววิไล  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา    มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง   เปิดเผยว่า  ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  จังหวัดพิษณุโลก  เป็นเจ้าภาพจัดงาน“ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ครั้งที่ 2”  เรื่อง  “การวิจัยท้องถิ่นเพื่อแผ่นดินไทย : พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น”   โดยในงานดังกล่าวได้มีการคัดเลือกผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเข้านำเสนอผลงานและมีการคัดเลือกผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นดีเด่น เพี่อเข้ารับรางวัลโดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับรางวัล      ทั่วประเทศ  12  โครงการ เป็นที่น่าชื่นชมที่มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  2  ท่าน    ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับรางวัล  คือ
 1.อาจารย์ชุติมา คำบุญชู      จากโครงการวิจัยเรื่อง  “บนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง” อาจารย์สังกัดสาขาวิชาภาษาไทย  คณะครุศาสตร์
   (รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา)   มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2.อาจารย์ ดร.เจือจันทร์  วงศ์พลกานันท์      จากโครงการวิจัยเรื่อง“วัดที่มีศิลปะแบบพม่าในจังหวัดลำปางกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”      อาจารย์สังกัดสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.)คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
            นอกจากนี้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวต่อไปว่า นอกจากรางวัลที่นักวิจัยทั้ง 2 ท่านจะสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางแล้ว ในส่วนของงานวิจัยนั้นผลงานวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางยังได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ครั้งที่ 2” เรื่อง  “การวิจัยท้องถิ่นเพื่อแผ่นดินไทย : พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น” จำนวนนับ 10 เรื่อง โดยแบ่งภาคการนำเสนอดังนี้ การนำเสนอภาคบรรยาย ประกอบด้วยโครงการการเพิ่มความเข้าใจ Kruskal’s Algorithm ด้วยโปรแกรมจำลองสถานการณ์ โดย อาจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ, โครงการผลการยับยั้งของเชื้อ Trichoderma sp. ต่อราก่อโรคใบไหม้ Pyricularia oryzae ที่คัดแยกจากเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดย อาจารย์ศาสตรา ลาดปะละ และโครงการวัสดุปลูกกล้วยไม้จากส่วนผสม ดินเบา     กากดินขาว และดินแดงพื้นบ้าน โดย อาจารย์ศิริมา เอมวงษ์ ส่วนการสำเสนอภาคบรรยายประกอบด้วย โครงการแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตำบล      ปงยางคก  อำเภอห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง โดย อาจารย์ฤาชุตา   เนตรจัด ,โครงการวัดที่มีศิลปะแบบพม่าในจังหวัดลำปางกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดย อาจารย์ดร.เจือจันทร์ วงศ์พลกานันท์, โครงการการศึกษาการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดย อาจารย์อาทิตย์  วังนัยกูล, โครงการการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรถม้าจำลองชุมชนบ้านต้นธงชัย  สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่  2  จังหวัดลำปาง โดย อาจารย์นันทิยา สมสรวย, โครงการบนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง โดย อาจารย์ชุติมา คำบุญชูและโครงการการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนางแล  ตำบลปงยางคก  อำเภอห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง โดย  อาจารย์จารุวรรณ         ลิมป์ไพบูลย์
                                                            - 2 -
      นอกจากนี้ในส่วนของเวทีบรรยายนั้นโครงการวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางยังร่วมบรรยาย 2 โครงการประกอบด้วย โครงการส่วนผสมเนื้อดินในการเตรียมไส้กรองเซรามิกสำหรับกรองน้ำอุปโภค โดย อาจารย์ธิติมา คุณยศยิ่ง  และโครงการเครื่องวัดระดับซีเมนต์ในถังไซโล โดย อาจารย์     ดอนสัน    ปงผาบ รวมทั้งในส่วนของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ยังได้นำผลงานด้านการวิจัยไปเผยแพร่ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัย (ข้าวเกรียบฟักทองตับหมู) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร  การแสดงภาคนิทรรศการของมหาวิทยาลัย และของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  และการแสดงด้านศิลปะและวัฒนธรรมของ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งการนำผลงานวิจัยเข้าร่วมในครั้งนี้  เป็นการนำเสนอผลงานในระดับชาติ ที่เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศร่วมกันจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2  ถือเป็นการยกระดับและส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวในตอนท้าย